เลือกกระเบื้องกันลื่นในห้องน้ำ และวิธีดูเเลไม่ให้สะสมเชื้อโรค

เลือกกระเบื้องกันลื่นในห้องน้ำอย่างไร พร้อมวิธีดูแลไม่ให้ห้องน้ำเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค

เชื่อหรือไม่ว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านทั่วโลกมีตัวเลขเฉลี่ยถึง 1,160 คนต่อวัน โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการลื่นล้ม ดังนั้นการเลือกวัสดุปูพื้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการลื่นล้มอย่างห้องน้ำ จึงไม่ใช่แค่เพียงเรื่อง ‘พื้นๆ’ แต่เป็นความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม 

ห้องน้ำแยกส่วนเปียก-แห้ง โครงการ NANTAWAN ปิ่นเกล้า - กาญจนา

ห้องน้ำแยกส่วนเปียก-แห้ง โครงการ NANTAWAN ปื่นเกล้า - กาญจนา 


เลือกกระเบื้องห้องน้ำอย่างไร ให้ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ

กระเบื้องส่วนใหญ่จะมีค่ากันความลื่น หรือเรียกกันว่า ‘ค่า R กระเบื้อง’ โดยเป็นค่ามาตรฐานจาก Garman Standard ที่เป็นค่ากำหนดคุณสมบัติของการกันความลื่นในกระเบื้องแต่ละชนิด และยังบอกถึงความเหมาะสมในการใช้งานแต่ละพื้นที่ด้วย โดยค่า R ในกระเบื้องปูพื้นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน จะอยู่ระหว่าง R9 - R13 ซึ่งเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันไป

  • กระเบื้องค่า R9 ป็นกระเบื้องที่มีคุณสมบัติกันลื่นเหมาะกับการใช้งานทั่วไปภายในบ้าน มีค่าความลาดชันที่ 3-10 องศา เป็นกระเบื้องผิวเรียบที่มีผิวสัมผัสด้าน มีลวดลายสวยงามหลายแบบ นิยมใช้ภายในห้องนั่งเล่น, ห้องครัว, ห้องอาหาร,ห้องน้ำ หรือห้องนอน เป็นต้น
  • กระเบื้องค่า R10  เป็นกระเบื้องที่เหมาะสำหรับการใช้งานภายนอกบ้าน หรือในพื้นที่ที่มักจะสัมผัสความเปียกชื้นตลอดเวลา มีค่าความลาดชันอยู่ที่ 10-19 องศา โดยจะมีผิวหน้าเรียบแต่ผิวสัมผัสหยาบ เพิ่มความเสียดทานในระดับที่ไม่ระคายเคืองผิว ทำความสะอาดได้ง่าย มักจะใช้ในพื้นที่ทางเดิน, ห้องน้ำ, ระเบียง หรือลานจอดรถ
  • กระเบื้องค่า R11 เป็นกระเบื้องที่มีผิวสัมผัสหยาบ คล้ายมีเม็ดทรายเล็กๆ อยู่บนผิวสัมผัส จึงไม่เหมาะกับการเดินด้วยเท้าเปล่า ทำความสะอาดยากกว่ากระเบื้องที่มีค่า R10 แต่ผิวหน้ามีความราบเรียบ มีค่าความลาดชันที่ 19-27 องศา นิยมใช้งานในพื้นที่ภายนอกบ้านหรือบริเวณที่ต้องเปียกน้ำบ่อยครั้ง เช่น ลานจอดรถ, ลานซักล้าง, ทางลาด หรือทางเดินนอกบ้าน 
  • กระเบื้องค่า R12 เป็นกระเบื้องที่เหมาะกับการใช้งานภายนอกอย่างแท้จริง ด้วยเพราะเป็นกระเบื้องที่มีลักษณะพื้นผิวหยาบมาก เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่มักต้องเจอคราบไขมัน คราบเหงื่อตลอดเวลา เช่น พื้นที่รอบสระว่ายน้ำ , ลานกีฬา หรือห้องล็อกเกอร์ในสถานออกกำลังกาย เป็นต้น มีค่าความลาดชันอยู่ที่ 27-35 องศา
  • กระเบื้องค่า 13 เป็นกระเบื้องที่มีความหยาบสูงสุด มีผิวหน้าขรุขระ และไม่มีความมันวาว ป้องกันการลื่นได้อย่างดีเพราะมีความเสียดทานสูง และมักใช้ในพื้นที่ภายนอกที่เป็นที่สาธารณะ เช่น ศูนย์การค้า หรือสวนสาธารณะ เป็นต้น


ปูกระเบื้องห้องน้ำกันลื่น ชื่อโครงการ anya ราชพฤกษ์ - นครอินทร์

ปูกระเบื้องห้องน้ำกันลื่น ชื่อโครงการ anya ราชพฤกษ์ - นครอินทร์ 


5 วิธีป้องกันไม่ให้กระเบื้องในห้องน้ำสะสมเชื้อโรค 

นอกจากจะต้องคำนึงเรื่องความปลอดภัยจากอุบัติเหตุแล้ว การดูแลกระเบื้องปูห้องน้ำยังควรให้ความใส่ใจเกี่ยวกับสุขอนามัยและความสะอาดด้วย เนื่องจากห้องน้ำเป็นพื้นที่ที่มีความเปียกชื้น เป็นแหล่งสะสมของคราบเหงื่อไคลและไขมัน จึงอาจเกิดการสะสมของแบคทีเรียได้ วิธีดูแลกระเบื้องห้องน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ สามารถทำได้ดังนี้


กระเบื้องห้องน้ำกันลื่น ได้ทั้งสวยงามและปลอดภัย โครงการ NANTAWAN พระราม9 กรุงเทพกรีฑาตัดใหม่

กระเบื้องห้องน้ำกันลื่น ได้ทั้งสวยงามและปลอดภัย โครงการ NANTAWAN พระราม9 กรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ 


  1. 1. เปิดประตูห้องน้ำเพื่อเป็นการระบายความชื้นหลังใช้งาน
  2. สิ่งสำคัญในการดูแลพื้นห้องน้ำให้สะอาด คือการลดความชื้นสะสมที่อยู่ภายในห้องน้ำ ดังนั้นหลังการใช้งานจึงควรเปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้ อย่างน้อยประมาณ 30 นาที เพื่อลดความชื้นภายในห้องน้ำออกไปบางส่วนนั่นเอง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความชื้นสะสมได้แล้ว ยังช่วยลดคราบไขมันสะสมภายในห้องน้ำได้อีกด้วย
  1. 2. เช็ดพื้นและผนังห้องน้ำให้แห้งหลังการใช้งาน
  2. การใช้งานห้องน้ำแต่ละครั้ง นอกจากจะทิ้งคราบน้ำแล้ว ยังมีคราบเหงื่อไคล ไขมัน รวมถึงสิ่งตกค้างจากอุปกรณ์ทำความสะอาดร่างกาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดคราบสะสม ที่หากปล่อยทิ้งไว้นานไปจะเกิดเป็นคราบหินปูนที่ยากต่อการทำความสะอาด ดังนั้นจึงควรดูแลพื้นและผนังห้องน้ำให้แห้งหลังจากการใช้งานอยู่เสมอ


เลือกกระเบื้องห้องน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน โครงการบ้านมัณฑนา

เลือกกระเบื้องห้องน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน โครงการบ้านมัณฑนา 


 

  1. 3. มีช่องระบายอากาศช่วยลดความอับชื้น
  2. การไล่ความอับชื้นภายในห้องน้ำ นอกจากจะเปิดประตูทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาทีหลังใช้งานแล้ว ห้องน้ำควรมีช่องระบายอากาศที่เปิดเอาไว้ตลอดเวลาเพื่อให้ความชื้นสามารถระบายออกได้เสมอ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมห้องน้ำส่วนใหญ่จะมีช่องระบายอากาศเล็กๆ ไว้ภายในห้อง หรือหากอยากไล่ความอับชื้นให้มีประสิทธิภาพและใช้เวลาน้อยลงยิ่งขึ้น ก็สามารถติดตั้งพัดลมระบายอากาศภายในห้องน้ำได้เช่นกัน
  1. 4. หมั่นทำความสะอาดห้องน้ำ
  2. คราบภายในห้องน้ำจากการใช้งานส่วนใหญ่มักจะมีส่วนผสมของไขมันและสารเคมี ซึ่งหากปล่อยปละละเลยจะเกิดเป็นคราบหินปูนและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งยากต่อการทำความสะอาด และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงควรหมั่นทำความสะอาดห้องน้ำอยู่เสมอ โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง เพราะอาจไปทำลายสารเคลือบป้องกันสิ่งสกปรกบนผิวกระเบื้องออกไปด้วย จึงควรใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบออแกนิก หรือวัสดุใกล้ตัว เช่น น้ำส้มสายชู หรือมะนาว และควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง


ห้องน้ำแยกส่วนเปียก-แห้ง มีที่นั่งอาบน้ำกันลื่นล้ม โครงการบ้านมัณฑนา

ห้องน้ำแยกส่วนเปียก-แห้ง มีที่นั่งอาบน้ำกันลื่นล้ม โครงการบ้านมัณฑนา 
 

  1. เลือกใช้กระเบื้องห้องน้ำที่มีคุณสมบัติลดการสะสมเชื้อแบคทีเรีย
  2. ปัจจุบันมีนวัตกรรมที่เรียกว่า กระเบื้องป้องกันแบคทีเรีย (Anti-bacteria) โดยเป็นกระเบื้องที่ออกแบบมาให้สามารถต่อต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียหลายชนิด โดยเฉพาะแบคทีเรียที่มักพบในห้องน้ำและเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาหารเป็นพิษ , ท้องร่วง หรือท้องเสีย เหมาะกับการใช้งานในบ้านที่ต้องการดูแลความสะอาดเป็นพิเศษ
  3. เนื่องจากห้องน้ำเป็นพื้นที่ที่หลีกเลี่ยงความเปียกชื้นไม่ได้ ดังนั้นจึงควรแบ่งส่วนเปียกและส่วนแห้งภายในห้องน้ำให้มีความชัดเจน เพื่อลดความเปียกชื้นสะสม และยังสะอาดต่อการใช้งานอีกด้วย บ้านแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จึงออกแบบให้ห้องน้ำมีส่วนเปียกและแห้ง เพื่อตอบรับทุกสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยทุกครอบครัว รวมถึงการคัดสรรกระเบื้องที่ได้ทั้งความสวยงามและมีพื้นผิวที่เหมาะสมในการใช้งานอีกด้วย

    อ่าน LH Living Tips & Living Concepts ดีๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.lh.co.th/th/lh-living-concept/living
    ขอบคุณภาพประกอบจากโครงการ NANTAWAN พระรามกรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ , NANTAWAN ปิ่นเกล้า - กาญจนา , บ้านมัณฑนา 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ